Mae Hia
Green Recreation City
แม่เหียะเมืองสีเขียวนันทนาการ

About

เกี่ยวกับ

โครงการวิจัยมุ่งสู่การเป็นเมืองคาร์บอนต่ำที่น่าอยู่ โดยมีความร่วมมือหลายภาคส่วนเพื่อช่วยเทศบาลเมืองแม่เหียะ สามารถพัฒนาเมืองน่าอยู่และกระจายศูนย์กลางความเจริญ โดยใช้วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อนำไปสู่การบริหารจัดการเมืองที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ เกิดระบบการจ้างงาน และประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

--

Our research project aims to develop mechanisms and business models that facilitate spatial investment for a livable low-carbon city; multi-sector cooperation to assist the ability of Mae Hia Municipality to develop livable cities and extend the area of prosperity through application of science, innovation, and technology; city management based on economic growth and employment systems to improve public quality of life, including sustainable urban development, in order to encourage tourist travel to the area.

Our Work

งานของเรา

Green Active

กระบวนการทำงานที่สำคัญในการผลักดันเมืองแม่เหียะเป็นเมืองแห่งกิจกรรมนันทนาการ  คือ การวิเคราะห์ข้อมูลด้านสารสนเทศน์ภูมิศาสตร์ ในรูปแบบข้อมูลเชิงพื้นที่ (spatial data) ที่ได้จากการเก็บและวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือสารสนเทศน์ภูมิศาสตร์ (Geographic Information System) นำมาคำนวณเปรียบเทียอัตราส่วนความหนาแน่นภายใต้ 4 ประเด็นสำคัญ ประกอบไปด้วย (1) ความหนาแน่นประชากร (2) ความหนาแน่นครัวเรือน (3) การใช้ประโยชน์ที่ดิน (4) ความหนาแน่นจราจร และ พื้นที่สีเขียวต่อพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะและพื้นที่สีเขียวต่อประชากร โดยทำการเปรียบเทียบอัตราส่วน

 

--

Green Connect

การออกแบบเส้นทางกิจกรรมสำหรับการเดินและการปั่นจักรยานผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม เกิดผลลัพธ์ จำนวน 7 เส้นทาง รวมระยะทางทั้งสิ้น 16.11 กิโลเมตร ที่ช่วยในการเชื่อมโยงพื้นที่เมืองแม่เหียะ โดยประมาณการณ์ปริมาณยานพาหนะที่วิ่งในเส้นทางทั้งหมด จำนวน 4,408,470 คัน/ปี แยกเป็นรถยนต์ส่วนบุคคล จำนวน 1,146,202 คัน/ปี รถสองแถว จำนวน 793,525  คัน/ปี และรถจักรยานยนต์ จำนวน 2,468,743 คัน/ปี ถ้ามีการดำเนินกิจกรรมโดยใช้เส้นทางทั้ง 6 เส้นทาง เป็นเส้นทางเดินและทางจักรยาน ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่คาดว่าจะลดได้ทั้งหมด จำนวน 852 tCO2/ปี

 

 

--

Green Forward

ในขั้นต้น ได้มีการศึกษา ประมวล และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเชิงพื้นที่ด้วยเทคนิคทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยนำข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน ปี 2561 และปี 2565 ความหนาแน่นของแหล่งกำเนิดการจราจรซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักของการปลดปล่อยคาร์บอนในพื้นที่ ความสมบูรณ์ของพืชที่ปกคลุมพื้นที่ ความหนาแน่นของแหล่งกำเนิดการจราจรในพื้นที่ และอุณหภูมิผิวพื้น ร่วมกับข้อมูลด้านสังคม เช่น ความหนาแน่นของประชากรผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองแม่เหียะ นำมาสังเคราะห์ร่วมกัน เพื่อสร้างชุดข้อมูลที่จะช่วยบ่งชี้ การออกแบบแผนงานในอนาคตเมื่อพิจารณาข้อมูลเชิงพื้นที่ของพื้นที่สีเขียว และรูปแบบการอยู่อาศัยในเรื่องการกระจายตัวของผู้คน พบว่าปรากฏการณ์เมือง 2 ฝั่ง มีทั้งข้อดีและข้อด้อยในการสนับสนุนคุณภาพชีวิตของผู้คนเมืองแม่เหียะ

ข้อดี – การมีพื้นที่สีเขียว และพื้นที่นันทนาการขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่ ในระยะทางไม่ไกล ใช้เวลาเดินทางไม่ถึง 15 นาที ซึ่งถือว่าเป็นการเข้าถึงที่ง่าย อีกทั้งในพื้นที่ดังกล่าวยังมีสิ่งอำนวยความสะดวก และพื้นที่เอื้อสำหรับกิจกรรมเพื่อพัฒนาสุขภาพให้กับหลายช่วงวัย ถือว่าเป็นจุดแข็งของเมืองที่ควรได้รับการส่งเสริมต่อยอด

ข้อด้อย การเข้าถึงพื้นที่สีเขียว ในพื้นที่อยู่อาศัยและย่านการค้าฝั่งตะวันออก มีสัดส่วนพื้นที่สีเขียวอยู่น้อย และไม่มีพื้นที่ว่างเพื่อการพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่สาธารณะในอนาคต การเข้าถึงพื้นที่สีเขียวที่ดี มีคุณภาพจำต้องพึงพาพื้นที่ฝั่งตะวันตก และพึงพาการเดินทางโดยรถยนต์ ด้วยสภาพทางสัญจรหลักของเมืองแม่เหียะเป็นถนนขนาดใหญ่ และซุปเปอร์ไฮเวย์ การเดินทางจึงจำเป็นต้องใช้รถ ทั้งเพื่อความเหมาะสมในการสัญจร และความปลอดภัย การไม่มีระบบขนส่งมวลชน ก็ยิ่งเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการใช้พลังงานและการปลดปล่อยคาร์บอน ส่งผลเสียต่อคุณภาพอากาศของพื้นที่โดยรวม  

 

--

Articles

บทความ

Resources

แหล่งข้อมูล
infographics image

Infographics

อินโฟกราฟิก

เดาน์โหลดอินโฟกราฟิก คลิกลิงค์ด้านล่าง

Databases

ฐานข้อมูล

บางอย่างเกี่ยวกับฐานข้อมูล

Green Active

Green Connect

Green Forward

Databases Image

Activity Map

แผนที่กิจกรรม

“Mae Hia: Active Green City”; establish a collaborative network/create a knowledge set with an open database for development of low-carbon/green recreational activities in Mae Hia Municipality.

แผนที่เส้นทางจักรยาน

เส้นทางจักรยาน
เส้นทางจักรยาน
View / download

เส้นทางจากการออกแบบผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม ร่วมกับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่

เส้นทางรถยนต์ไฟฟ้าสาธารณะ

เส้นทางเดินรถไฟฟ้า
เส้นทางเดินรถไฟฟ้า
View / download

ทางทีมวิจัยได้ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางการทดสอบเดินรถ โดยกำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษาในพื้นที่เขตเทศบาลแม่เหียะ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมืองเชียงใหม่ กิจกรรมการให้บริการขนส่งสาธารณะประจำทาง เพื่อสร้างการเชื่อมต่อระดับย่านในระยะสั้น เป็นการให้บริการเส้นทางประจำทางขนาดเบา เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางระดับย่าน ทั้งนี้เพื่อสร้างจุดเชื่อมต่อการเดินทาง (Connecting Point) และเชื่อมโยงการเดินทางระดับย่านเข้ากับการเชื่อมโยงระดับพื้นที่ โดยมีจุดจอดรถ 2 จุดคือ 1. เทศบาลเมืองแม่เหียะ 2. ตลาดสดแม่เหียะ

แผนที่ตำแหน่งแปลงผัก

ข้อมูลเครือข่ายร้านที่เข้าร่วมโครงการ
ข้อมูลเครือข่ายร้านที่เข้าร่วมโครงการ
View / download

จัดทำระบบบริหารจัดการขยะเศษอาหาร โดยแพลตฟอร์มสามารถติดต่อนัดหมายเข้ารับเศษอาหารจากทางร้าน และสามารถคำนวณหาปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ลดลงในแต่ละวัน จากปริมาณขยะเศษอาหารที่ถูกนำไปผลิตเป็นพลังงานทดแทน พร้อมจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูล