Articles
บทความเมืองแม่เหียะ กับการลดปริมาณคาร์บอน
(ตอนที่ 2) : แม่เหียะ สภาพการจราจร คาร์บอน และพื้นที่เสี่ยงด้านสุขภาพ
ด้วยลักษณะของเมืองแม่เหียะที่มีถนนสายหลักเป็นเส้นทางเข้าออกหลักด้านทิศใต้ของเมืองเชียงใหม่ บวกกับถนนซุปเปอร์ไฮเวย์สายวงแหวนอ้อมเมือง ทำให้พื้นที่มีจุดตัดแยกขนาดใหญ่หลายแห่ง และเป็นศูนย์รวมของปริมาณการจราจรในช่วงชั่วโมงเร่งด่วน ในช่วงเช้า และช่วงเย็น
จากการศึกษาสภาพการจราจร Google Traffic ปี 2565 ประมวลผลด้วยเทคนิคทางระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) พบว่าในชั่วโมงเร่งด่วน เมืองแม่เหียะจะมีสภาพการจราจรหนาแน่นมากจนติดขัดบริเวณทางแยกแม่เหียะสมานสามัคคีและทางแยกอุโบสถวารีประทาน และสภาพการจราจรหนาแน่นปานกลาง บนถนนสายหลัก ได้แก่ ถนนสายเชียงใหม่-หางดง (108) และถนนเลียบคลองชลประทาน (121) สำหรับสภาพการจราจรที่มีความหนาแน่นสูงจะเกิดขึ้นในช่วงสั้นๆ เมื่อมีการจัดงานในพื้นที่อุทยานหลวงราชพฤกษ์ ซึ่งเกิดขึ้น 2-3 ครั้งในรอบปี
หากพิจารณาข้อมูลกิจกรรมโดยรวมของเมืองแม่เหียะ จะพบว่าสภาพการจราจรคือปัจจัยสำคัญของการปลดปล่อยคาร์บอนในพื้นที่ และเมืองพิจารณาจากแนวคิด Carbon Neutrality ความเป็นกลางทางคาร์บอน ความสัมพันธ์ระหว่างการปลดปล่อยและดูดซับในพื้นที่ชุมชนเมืองของเทศบาลเมืองแม่เหียะ ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องได้รับการพิจารณา เนื่องจากปริมาณการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทพื้นที่สีเขียว หรือพื้นที่ที่มีพรรณไม้ปกคลุมต่อพื้นที่อาคารในพื้นที่ถือว่าไม่มีความสมดุลกัน บวกเข้ากับปริมาณคาร์บอนที่เกิดจากการจราจร ยิ่งเป็นการเพิ่มปัจจัยผลักให้พื้นที่ชุมชนเมืองของเทศบาลเมืองแม่เหียะมีความเสี่ยงสูง โดยข้อมูลพื้นที่เสี่ยงจากปริมาณคาร์บอนโดยใช้ฐานข้อมูลจากปริมาณการจราจรพบว่า
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเทศบาลเมืองแม่เหียะมีความเสี่ยงต่อคาร์บอนในระดับน้อย จากปัจจัยการมีพื้นที่ป่าไม้ พื้นที่สีเขียวผืนใหญ่ อาทิ เขตอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุยอยู่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พื้นที่แม่เหียะ) พื้นที่เชียงใหม่ไนท์ซาฟารี และอุทยานราชพฤกษ์ (พืชสวนโลก) แต่เมื่อพิจารณาลงในพื้นที่เมืองทั้ง 2 ฝั่งพบว่า พื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงคือพื้นที่ที่อยู่ในเขตที่อยู่อาศัยหนาแน่น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีกิจกรรมเกิดขึ้นมากรวมถึงมีปัจจัยที่จะก่อให้เกิดคาร์บอนในปริมาณสูง ได้แก่ พื้นที่หมู่ 1, 4, 5, 6, 7, 8, 9 และ 10
การนำข้อมูลมาพิจารณา สร้างการมีส่วนร่วม และเร่งออกแผนปฏิบัติการเพื่อลดความเสี่ยง ให้เท่าทันกับทั้งปริมาณการจราจรที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต และการขยายตัวของเมืองจึงเป็นความท้าทายที่ทางเทศบาลเมืองแม่เหียะ และชุมชนต้องร่วมกันคิดค้นหาลู่ทางแก้ไข ป้องกัน และพัฒนาอย่างเร่งด่วน
Mae Hia City – Reducing Carbon
Part 2: Mae Hia, traffic conditions, carbon and health-risk areas
The characteristics of Mae Hia, with the main road being the primary entrance and exit route to the south of Chiang Mai, as well as the super-highway around the city ring road, causes the area to have many large intersections which become the focus of traffic during rush hour in both morning and evening.
According to the 2022 Google Traffic study, processed using Geographic Information System (GIS) techniques, Mae Hia City experiences very congested traffic conditions during rush hour, becoming stuck at Mae Hia Saman Samakkhi Intersection and Ubosotwaree Prathan Intersection, with medium-density traffic conditions on the main roads, namely Chiang Mai-Hang Dong Road (108) and Chonprathan Canal Road (121), or when an event is held in the Royal Park Rajapruek area, which occurs 2-3 times per year.
When considering the overall activity of Mae Hia City, it is clear that traffic conditions are a major determinant of carbon emission in the area. Based on the concept of Carbon Neutrality, the relationship between emission and absorption in urban areas of Mae Hia Municipality must be considered as a matter of utmost importance, due to local imbalance of land use between green spaces, or areas covered by vegetation, and built-up areas. Add to this the carbon generated by traffic, and the factors increase which put urban areas of Mae Hia Municipality at high risk.
Data of high-risk areas as a result of carbon content, derived from a database of traffic volume, shows that most areas of Mae Hia Municipality have a low carbon risk due to forested or large green areas such as Doi Suthep-Pui National Park, Chiang Mai University (Mae Hia area), Chiang Mai Night Safari, and Royal Park Rajapruek (World Horticulture Park). However, when considering the urban areas on both sides of Mae Hia, it is clear that high-risk areas are those with dense residential areas, due to increased activity and higher number of carbon-contributing factors, such as areas in groups 1, 4, 5, 6, 7, 8, 9 and 10.
Taking data into account to engage and expedite implementation of an action plan to reduce risk and keep pace with the amount of traffic, which is sure to increase in the future, as well as the expansion of the city – this is the challenge for which Mae Hia Municipality and its community must come together urgently to identify and develop preventative solutions.