Articles
บทความการจัดการอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย พลังส่งเสริมแม่เหียะเมืองนันทนาการสีเขียว
สนทนากับ ภาณุวรรษ ผิวละมุล ผู้ช่วยหัวหน้าอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย และนักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
Q: เนื่องจากพื้นที่บางส่วนของเทศบาลเมืองแม่เหียะเป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย อยากทราบถึงการดูแลพื้นที่ โดยเฉพาะด้านการจัดการธรรมชาติระหว่างคนและพื้นที่ป่า
กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชมีนโยบายให้อุทยานแห่งชาติทุกแห่งจัดทำแผนบริหารจัดการอุทยานแห่งชาติ ระหว่างปี พ.ศ.2566 – พ.ศ.2570 สำหรับอุทยานดอยสุเทพ-ปุย ที่ผ่านมามีการประชุมเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง และระดมความคิดเห็นอย่างมีส่วนร่วม จัดทำเป็นแผนเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้และอยู่ระหว่างการนำข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ของกรมอุทยานเพื่อให้ภาคประชาชนที่ไม่ได้เข้าร่วมการประชุมผู้มีส่วนได้เสีย ให้เข้ามาแสดงความคิดเห็นในเรื่องของการขอโครงการในพื้นที่อุทยานต่าง ๆ รวมถึงเรื่องของการจัดทำการแบ่งเขตพื้นที่การจัดการ (Zoning) ในเขตบริหารการจัดการที่เป็นชุมชน ตามมาตรา 65 ด้านการจัดการพื้นที่ในด้านการจัดกิจกรรมนันทนาการ เช่น การเดินป่า การวิ่งเทรล หรือการทำกิจกรรมในเขตพื้นที่นันทนาการต่าง ๆ ที่ได้รับการส่งเสริม
สำหรับอุทยานจะมีภารกิจในหลาย ๆ ด้าน 1.ภารกิจด้านการอนุรักษ์ป้องกันปราบปราม ในด้านของการอนุรักษ์พื้นที่ 2.ภารกิจด้านนันทนาการและวิชาการ 3.ภารกิจด้านการศึกษา ค้นคว้า วิจัย สำหรับภารกิจที่เสริมออกมาคือการมีส่วนร่วมกับชุมชนต่าง ๆ ในเรื่องของการพื้นฟูพื้นที่ ซึ่งทางกรมอุทยานฯ จะมีแบบสำรวจให้กับทางอุทยานฯ ทำในทุก ๆ ปีว่าในพื้นที่ในการจัดกิจกรรมที่เป็นเขตพื้นที่ในแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ควรจะมีการเปิด-ปิด เพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวในช่วงเวลาใดบ้าง ในส่วนพื้นที่มีความเปราะบางทางระบบนิเวศอุทยานดอยสุเทพ-ปุยจะมีระยะเวลาเปิด 6 เดือน และ ปิด 6 เดือน บางพื้นที่ปิดเฉพาะฤดูฝน หรือบางส่วนก็มีการเปิดให้เข้าตลอดทั้งปี เช่น ลานกางเต้นท์บ้านพักสวนสน บ้านพักนักท่องเที่ยว น้ำตกมณฑาธาร น้ำตกแม่สา น้ำตกหมอกฟ้า น้ำตกตาดหมอก เป็นต้น
Q : สำหรับการจัดกิจกรรมเดินป่า และวิ่งเทรลในพื้นที่อุทยานฯ อยากทราบว่ามีกระบวนการจัดการก่อน และ หลัง กิจกรรมอย่างไรเพื่อลดผลกระทบต่อพื้นที่
สำหรับการจัดกิจกรรมวิ่งเทรลในพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งอุทยานแห่งชาติดอยสุเทพ-ปุย เป็นที่ที่มีการขออนุญาตในการจัดกิจกรรมวิ่งเทรลมากกว่า 10 รายการต่อปี โดยทางอุทยานฯ ได้ดำเนินการตามขั้นตอนการขออนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช โดยล่าสุดได้มีหนังสือจากกรมอุทยานฯ ในเรื่องของแนวทางการปฏิบัติ ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ การขออนุญาตจัดกิจกรรมในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ และวนอุทยาน จากหนังสือที่ได้รับจากกรมอุทยานฯ ทางอุทยานฯ ได้มีการเชิญผู้ประกอบการ ทีมงานผู้จัดงานกิจกรรม ร่วมหารือแนวทางการปฏิบัติขั้นตอนและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ในการขออนุญาตเนื่องจากหลักเกณฑ์มีรายละเอียดที่ต้องทำความเข้าใจร่วมกัน เช่น การขออนุญาตจัดกิจกรรมต้องอยู่ในพื้นที่ของส่วนนันทนาการและบริการ โดยต้องมีการนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาอุทยานแห่งชาติที่มีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานในการขอความคิดเห็นในการประชุมเพื่อจัดกิจกรรมในอุทยาน ซึ่งต้องผ่านคณะกรรมการในที่ประชุมเบื้องต้นก่อน
ด้านการจัดการพื้นที่ในช่วงที่มีการจัดกิจกรรม ทางอุทยานฯ ได้มีการจัดให้เจ้าหน้าที่เข้าร่วมเพื่ออยู่ประจำจุดในการดูแลเรื่องความปลอดภัยของนักวิ่งเป็นหลัก ในเรื่องจุดบริการทีมผู้จัดงานกิจกรรมจะมีการติดริบบิ้นเป็นสัญลักษณ์ชัดเจน ในเรื่องของจุดให้บริการน้ำ หรือจุดประถมพยาบาลต่าง ๆ มีการบันทึกภาพก่อน และหลัง การจัดกิจกรรมในพื้นที่เพื่อรายงานให้กับกรมอุทยานฯ และมีการให้เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ เข้าไปตรวจสอบพื้นที่ที่จัดกิจกรรมว่ามีสิ่งตกค้างเหลืออยู่ในเรื่องของสัญลักษณ์ ป้าย ขยะต่าง ๆ ทำเป็นบันทึกรายงานส่งให้กับสำนักงานอุทยานฯ ซึ่งทางสำนักงานอุทยานฯ จะมีการรายงานตามขั้นตอนการปฏิบัติของกรมอุทยานฯ ต่อไป
นอกจากนี้ทางอุทยานฯ ได้ประสานกับทางผู้ที่จะเข้ามาจัดกิจกรรมในอุทยานฯ ในด้านของการประสานงานกับชุมชนที่เกี่ยวข้องในเรื่องของการมีส่วนร่วมกับชุมชน เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ชุมชนและการนำรายได้เข้าสู่ชุมชนอย่างไร เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์จากชุมชนมาทำเป็นสิ่งของหรือของที่ระลึกเพื่อแจกให้กับนักท่องเที่ยว รวมถึงการประสานงานกับทางด้านผู้นำชุมชนในการจัดกิจกรรมวิ่งเทรลผ่านพื้นที่ของชุมชน โดยให้ผู้นำชุมชนแจ้งกับชาวบ้านในพื้นที่ทราบเพื่อไม่ให้ชาวบ้านวิตกกังวลและตกใจ เพราะการวิ่งเทรลบางครั้งไม่ได้มีเฉพาะตอนกลางวันจะมีในช่วงตอนกลางคืนด้วย ซึ่งทางอุทยานฯ ได้ดำเนินการประสานงานกับผู้จัดงานเมื่อมีการจัดกิจกรรมขึ้นภายในเขตของอุทยานฯ ตลอดระยะเวลาที่มีการจัดกิจกรรมเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อพื้นที่และชุมชน
Management of Doi Suthep-Pui National Park – Power to promote Mae Hia – Green City of Recreation
Discussion with Panuwat Pewlamol, Assistant Chief of Doi Suthep-Pui National Park and active forestry academic
Q: Because some parts of Mae Hia Municipality are also part of Doi Suthep-Pui National Park, how should the area be cared for, especially nature management between occupied and forested areas?
“The Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation has a policy that a national park management plan for 2023 – 2027 should be created for Doi Suthep, as well as all other national parks. Meetings have already been held with invited relevant parties to brainstorm and form an action plan. Now, we are in the process of providing information about the National Park Service to the public sector, who didn’t attend the stakeholder meeting, so that they may comment or suggest various projects for the park, including the matter of management area division (zoning) according to Section 65, which concerns area management and organization of recreational activities such as hiking, running, trail running, or other activities which are promoted in various recreational areas”.
“For the park itself, there are missions in many aspects: (1) area conservation and rehabilitation; (2) recreation and academic projects; (3) education and research projects. Another mission is to engage with various communities in the rehabilitation area via a survey about the park, distributed by the Department of National Parks, regarding which tourist attraction areas should be open or closed at certain times each year. Due to the fragility of Doi Suthep-Pui, the park is open for 6 months then closed for 6 months. Some areas are closed only during rainy season, while others are open year-long, such as the camping sites at Ban Suan Son, Monthan Waterfall, Mae Sa Waterfall, Mok Fa Waterfall, Tat Mok Waterfall, etc”.
Q: Regarding trekking and trail running activities in the national park area, how does the management process, before and after, reduce the impact of activities on the area?
“Concerning trail running activities in the Doi Suthep-Pui National Park area, more than 10 trail running events each year have been granted permission to organize, subsequent to procedures to obtain permission from the Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation. Recently, a letter was distributed by the Department of National Parks inviting entrepreneurs and event organizers to discuss practical guidelines, procedures and various criteria for requesting permission to organize activities, as the details of the criterion must be mutually understood. For example, a request for permission to organize activities in the recreation and services area must be presented to a meeting between the National Park Advisory Committee, chaired by the Provincial Governor, in order to seek opinions regarding activities in the park, which must first be approved by the committee at a preliminary meeting”.
“In terms of area management, during activities, the park arranges for staff attendance at designated points to ensure the safety of runners first and foremost. The event organizers provide clear indicators in the form of colored ribbons for service points, water service points, and various primary medical service points. Photographs are taken before and after activities in the area and reported to the National Park Service and park staff, in order to assist inspection of the activity area and identify any changes, such as markings, damage, or various waste, which are recorded and submitted in a report to the National Park Office, made in accordance with National Park Service procedures”.
“In addition, the park coordinates closely with activity organizers and communities regarding community participation and how to bring income into the community, such as through community products and souvenirs for tourists. Additionally, trail running activities in community areas are organized and coordinated together with community leaders, so that leaders may notify villagers in the area and put rest to any potential worry or panic, especially as trail runs sometimes also occur during the night, not only the day. The park coordinates with event organizers when activities are held within park boundaries for the entire duration of the activity, in order to avoid issues and negative effects on the area and community”.