Articles
บทความ3 นิยามว่าด้วย “Carbon”
Carbon Footprint, Carbon Neutrality และ Net Zero Carbon
ปัญหาหลักของการกระตุ้นให้เกิดจิตสำนึก และการจัดการสภาพแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก คือ การลงมือทำ “วันนี้” แต่ไม่เห็นผลทันตา คนส่วนใหญ่จึงร่วมกิจกรรมด้วยเข้าใจว่าเรื่องที่กำลังช่วยกันอยู่เป็นเรื่องที่ดีต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม แต่อาจไม่ตอบโจทย์ หรือจูงใจในฝั่งผลลัพธ์จากความเปลี่ยนแปลงที่ต้องอาศัยการพิจารณากันในระยะยาว
ศัพท์แสงยิดฮิตของการวัดผลเพื่อให้เห็นๆ ความสำเร็จกันไปเลยตรงหน้า ว่าการจัดการสิ่งแวดล้อมของเรากำลังไปได้สวย คือ การใช้การประเมิน และการระบุค่าความเปลี่ยนแปลงบางอย่างมากำกับ อาทิ การวัด Carbon Footprint และเป้าหมาย Carbon Neutrality และ Net Zero Carbon หลายคนอาจเข้าใจนิยามมาแล้วบ้าง หรือบางคนอาจยังสงสัยว่านคำเหล่านี้ มีที่มาที่ไปหรือวิธีคิดอย่างไร
วันนี้เรามาแจกแจงก็อีกสักครั้ง เพื่อทำความเข้าใจ และนำกลับไปพิจารณาสิ่งที่เรากำลังช่วยกันลงมือทำ ให้เห็นภาพ และมีกำลังใจมากขึ้นในการไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
Carbon Footprint
องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้นิยาม Carbon Footprint ไว้ว่า “ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ กระบวนการผลิต การประกอบชิ้นงาน การกระจายสินค้า การใช้งาน และการจัดการของเสียหลังหมดอายุการใช้งาน รวมถึงการขนส่งที่เกี่ยวข้อง โดยคำนวณออกมาในรูปของ กรัม, กิโลกรัม หรือตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า”
อบก. กำหนดให้ใช้การพิจารณาการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่
1.carbon dioxide (CO2) 2.methane (CH4) 3.nitrous oxide (N2O) 4.hydro-fluoro-carbons (HFC)
5. fluorocarbons (FC) 6.sulphur hexafluoride (SF6) ผ่านการคำนวณและประเมินจากกิจกรรมของครัวเรือน และองค์กร ทั้งระบบจากต้นทางถึงปลายทาง (การประเมินวัฏจักรชีวิต) เช่น การใช้ผลิตภัณฑ์ ที่มาของผลิตภัณฑ์ การใช้ไฟฟ้า การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง การจัดการของเสีย และการขนส่ง วัดออกมาในรูปตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า โดย อบก. ได้ให้กรอบการพิจารณาจาก 3 ส่วนหลัก (SCOPE)
“SCOPE I: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางตรง (Direct Emissions) จากกิจกรรมต่างๆ ขององค์กรโดยตรง เช่น การเผาไหม้ของเครื่องจักร การใช้พาหนะขององค์กร (ที่องค์กรเป็นเจ้าของเอง) การใช้สารเคมีในการ
บำบัดน้ำเสีย การรั่วซึม/รั่วไหล จากกระบวนการหรือกิจกรรม เป็นต้น
SCOPE II: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Energy Indirect Emissions) ได้แก่ การซื้อพลังงานมาใช้ในองค์กร ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า พลังงานความร้อน พลังงานไอน้ำ เป็นต้น
SCOPE III: การคำนวณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ทางอ้อมด้านอื่นๆ การเดินทางของพนักงานด้วยพาหนะที่ไม่ใช่ขององค์กร การเดินทางไปสัมมนานอกสถานที่ การใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น”
ทั้งนี้ทาง อบก. ได้สร้าง mobile application “CF Calculator Personal” สำหรับครัวเรือน และองค์กร เพื่อการคำนวณ Carbon Footprint ไว้ทั้งในแฟลตฟอร์ม iso และ android ช่วยเพิ่มความสะดวกในการคำนวณ เพียงกรอกข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้ไฟฟ้า การใช้รถยนต์ ฯลฯ
Link : https://apps.apple.com/th/app/thai-carbon-footprint-calculator/id938564037?l=th
Carbon Neutrality
ความเป็นกลางทางคาร์บอน หมายถึง ปริมาณการปล่อยคาร์บอน (CO2) เข้าสู่ชั้นบรรยากาศเท่ากับปริมาณคาร์บอนที่ถูกดูดซับกลับคืน โดยทั่วไปมักกล่าวถึงการสร้างพื้นที่ป่า หรือพื้นที่สีเขียวเพื่อดูดซับคาร์บอน (ตรึงคาร์บอนไว้ในดินและพืช) รวมไปถึงการซื้อคาร์บอนเครดิต
Net Zero Carbon
หรือ Net zero emission หรือ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ หมายถึง ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเน้นไปที่ก๊าซ 3 ตัวหลัก 1.carbon dioxide (CO2) 2.methane (CH4) 3.nitrous oxide (N2O) มีความสมดุล เท่ากับก๊าซเรือนกระจกที่ถูกดูดซับออกจากชั้นบรรยากาศ ซึ่งหมายถึงการไม่เพิ่มก๊าซเรือนกระจกเข้าไปในชั้นบรรยากาศ หรือการหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
จากนิยาม Carbon Neutrality และ Net Zero Carbon องค์กรขนาดเล็ก หรือท้องถิ่น มักจะนิยมใช้ Carbon Neutrality เป็นเป้าหมาย เพราะถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของเพื่อจะไปถึง Net Zero Carbon ซึ่งต้องเริ่มการจัดการตลอดห่วงโซ่ผลิตภัณฑ์ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ดังนั้น ในขั้นแรกการ ลด และชดเชย การปลดปล่อยคาร์บอนจึงเป็นแนวทางที่ริเริ่มได้ง่าย สร้างความเข้าใจ และความร่วมมือได้ไม่ยาก และเห็นผลชัดเจนภายในองค์กร อาทิ การลดหรือละกิจกรรมบางอย่างที่ไม่จำเป็น อย่างการใช้ไฟฟ้า การใช้รถยนต์พลังงานฟอสซิล การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานสะอาด รวมไปถึงการเพิ่มพื้นที่สีเขียว แล้วคำนวณค่าการกักเก็บคาร์บอนฯลฯ
- “Carbon neutrality” กับ “net zero emissions” ต่างกันอย่างไร? และมีความสำคัญอย่างไร? (http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YjNKbllXNXBlbUYwYVc5dVgybHo)
- Image Source (https://www.premiumbeautynews.com/en/beauty-under-carbon-constraints,19727)
Three Definitions of “Carbon” Carbon Footprint, Carbon Neutrality and Net Zero Carbon
The main problem in raising awareness about environmental management, to reduce the effects of global climate change, is the disconnect between action taken “today” and lack of immediate results. Most people, therefore, partake in activities with the understanding that what they are doing is beneficial to society and the environment, but may not be responsive to or incentivized by the immediate results, which actually require more long-term consideration.
Common terms of measurement are used for clarification and straightforward measure of progress regarding effectiveness of our environmental management, and for assessment and direction of specific changes, including Carbon Footprint, targeting Carbon Neutrality, and Net-Zero Carbon. Many people may already understand these definitions, although some may still wonder about their origin, or the way of thinking from which they originated?
Today, we will explain it once more to help spread understanding and encourage consideration of our collective action, in order to see the big picture and provide more encouragement to reach set goals.
Carbon Footprint
Thailand Greenhouse Gas Management Organization (public organization), or TGO, under the Ministry of Natural Resources and Environment, defines Carbon Footprint as “the amount of greenhouse gases emitted per each unit of product, from acquisition of raw materials, to production processes, assembly, distribution, use, and end-of-life waste management, including related transportation, calculated in terms of grams, kilograms, or equivalent tons of carbon dioxide”.
TGO requires consideration of all 6 types of greenhouse gas emissions, namely:
(1) carbon dioxide (CO2); (2) methane (CH4); (3) nitrous oxide (N2O); (4) hydro-fluoro-carbons (HFC); (5) fluorocarbons (FC); (6) sulfur hexafluoride (SF6). These are calculated and evaluated from the activities of households and organizations, for entire systems from origin to destination (life cycle assessment), e.g. product use, product origin, electricity consumption, fuel consumption, waste management and transportation, measured in equivalent tons of carbon dioxide. The TGO provides a framework for consideration in 3 main parts (SCOPE).
SCOPE I: Calculation of Direct Carbon Footprint (Direct Emissions); direct result of activities by the organization, such as internal combustion machinery, use of corporate vehicles (those owned by the organization), use of chemicals in waste water treatment, leakage/byproducts of a process or activity, etc.
SCOPE II: Calculation of Indirect Carbon Footprint (Energy Indirect Emissions); from use of energy, i.e. purchase of energy for use by the organization, such as electricity generated via thermal, steam, etc.
SCOPE III: Calculation of Other Indirect Carbon Footprints, e.g. employee travel using non-corporate vehicles, travel to off-site venues, use of various materials, equipment, etc.
The TGO has created a mobile application – CF Calculator Personal – for households and organizations to calculate their carbon footprint, available on both iOS and Android platforms, to improve the convenience of calculation. Simply enter the relevant information, such as electricity usage, vehicle usage, etc.
Link: https://apps.apple.com/th/app/thai-carbon-footprint-calculator/id938564037?l=th
Carbon Neutrality
Carbon Neutral means that the amount of carbon dioxide (CO2) emitted into the atmosphere is equal to the amount of carbon dioxide reabsorbed. Generally, the term is often used in connection with creation of forested areas or green areas and for re-absorption of carbon (locking carbon in soil and plants) and the purchase of carbon credits.
Net Zero Carbon
…or Net Zero Emission, or, Net Greenhouse Gas Emission, means the amount of greenhouse gas emissions are equal to the amount of greenhouse gases reabsorbed from the atmosphere, with focus on the 3 main gases: (1) carbon dioxide (CO2), (2) methane (CH4), and (3) nitrous oxide (N2O). This equates to not adding more greenhouse gases to the atmosphere, or halting emissions of greenhouse gas.
With these definitions of Carbon Neutrality and Net Zero Carbon, small or local organizations tend to use Carbon Neutrality as an objective, as it is considered a starting point for reaching Net Zero Carbon, which must begin with management and continue throughout the entire product chain, from upstream to downstream. Reducing and offsetting carbon emissions is a simple initiative – understanding and co-operation are not difficult – and results are clear to see within the organization, such as when reducing or omitting unnecessary activities, including electricity usage, use of internal combustion cars, use of solar and clean energy, addition of green areas, followed by calculation of carbon sequestration, etc.
- Carbon Footprint of the Organization (http://thaicarbonlabel.tgo.or.th/index.php?lang=TH&mod=YjNKbllXNXBlbUYwYVc5dVgybHo)
- “Carbon neutrality” and “Net Zero Emissions” What's the difference? And how is it important? (https://www.pier.or.th/blog/2022/0301/)
- Image Source (https://www.premiumbeautynews.com/en/beauty-under-carbon-constraints,19727)